จากอาการปวดเต้านม ที่เป็นอาการที่เกิดและสามารถพบได้บ่ิอยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ทั้งหลาย หลายต่อหลายครั้งมีคำถามตามมาว่าอาการเหล่านี้จะชักนำไปสู่การเป็นโรคต่างๆ อะไรหรือไม่ วันนี้มีคำตอบมาเฉลยกับ อาการปวดเต้านม กัน

ในสตรีส่วนมากจะมีความวิตกกังวลมากเวลามีอาการปวดเต้านม ซึ่งเกิดขึ้นได้เสมอกับหญิงสาวในวัยเจริญพันธุ์ บางคนจะมีอาการปวดคัดตึงก่อนมีประจำเดือน แต่บางคนก็มีอาการปวดตลอดเวลาไม่ขึ้นกับประจำเดือน บางคนวิตกกังวลและคิดมากจนนอนไม่หลับ กลัวว่าจะผิดปกติจนถึงขั้นเป็นมะเร็งเต้านม บทความนี้จึงน่าเป็นประโยชน์สำหรับสตรีโดยทั่ว ๆ ไปได้เรียนรู้และเข้าใจในเรื่องการปวดเต้านม

อาการปวดเต้านม

อาการปวดเต้านมมี 2 ลักษณะ แบบแรกปวดเต้านมก่อนมีประจำเดือน (cyclical mastalgia) ซึ่งมักจะปวดนมด้านบนและด้านนอก (upper outerquadrant) และอาจร้าวไปท่อนแขนส่วนบนก็ได้ อาการปวดนมอีกแบบหนึ่งคือไม่เกี่ยวข้องกับประจำเดือน (noncyclical mastalgia) ซึ่งอาจเกิดจากการปวดที่มาจากเต้านมเองหรือปวดที่ผนังทรวงอกใต้เต้านมหรือกระดูกอ่อนบริเวณชายโครงจากการศึกษาพบว่ามีสตรีถึง 70 % ที่เคยมีอาการปวดเต้านมมากบ้างน้อยบ้างตลอดชีวิตที่ผ่านมาแต่จะพบว่ามีอาการรุนแรงเพียง 11 % และที่ต้องไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการมีถึง 36 %

สาเหตุของการปวดเต้านม แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงจะยังไม่เป็นที่ชัดเจนแต่มีหลายทฤษฎีที่อธิบายอาการปวดเต้านมอย่างเป็นเหตุเป็นผล เชื่อว่า cyclical mastalgia เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแม้ว่าจะพบความผิดปกติของฮอร์โมนก็ตาม เพราะหลักฐานที่ยืนยันก็คือ อาการปวดในกลุ่มนี้จะหายไปเมื่อตั้งครรภ์ หรืออยู่ในวัยหมดประจำเดือน ส่วน noncyclical mastalgia มักไม่ค่อยพบสาเหตุที่มาจากเต้านมโดยตรง แต่พบได้บ้างที่มีสาเหตุจากภาวะที่เป็นซีสต์ จากการกระทบกระแทกและก้อนเนื้องอกธรรมดาของเต้านม เช่น fibroadenoma

breast reduction อาการปวดเต้านม

อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าเกิดจากความไม่สมดุลของกรดไขมันภายในเซลล์ ทำให้เซลล์นั้นมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนที่ไวกว่าปกติ จึงเป็นเหตุผลที่ใช้ยารักษาอาการปวดเต้านมด้วย primrose oil capsule ซึ่งทำมาจากกรดไขมันชนิดหนึ่งที่มีผลทำให้เกิดความสมดุลของไขมันภายในเซลล์จึงรักษาอาการปวดเต้านมได้ มียาหลายชนิดที่ทำให้เกิดอาการปวดเต้านมได้ เช่น ยาพวกฮอร์โมนที่รักษาอาการมีบุตรยาก และยาเม็ดคุมกำเนิด และยังมีรายงานการเจ็บเต้านมที่เกิดจากยาคลายเครียดบางชนิดอีกด้วย

อาการปวดเต้านม

อาการปวดเต้านมเกี่ยวข้องกับการเป้นมะเร็งอย่างไร

อาการปวดเต้านมแทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเป็นมะเร็งเลย โดยเฉพาะในรายที่ปวดทั้งสองข้างและเกี่ยวข้องกับการมีรอบเดือน แต่กรณีที่ปวดเต้านมข้างเดียวและไม่เกี่ยวข้องกับการมีรอบเดือนก็ควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุแต่มีเพียง 2 – 7 % เท่านั้น

ในกลุ่มนี้ที่พบมีความเกี่ยวข้องกับการเป็นมะเร็งเต้านมขนาดของเต้านมมีผลต่อการปวดหรือไม่แน่นอนที่สุดขนาดของเต้านมมีผลต่อการเกิดอาการปวดนมตลอดไปจนถึงอาการปวดไหล่ ปวดต้นคอ และปวดหลัง ดังนั้น จึงมีการผ่าตัดลดขนาดเต้านม (reduction mammoplasty) เพื่อรักษาอาการเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ต้องระลึกไว้เสมอว่าการผ่าตัดต่อเต้านมก็มีผลทำให้เกิดอาการปวดนมได้เช่นกัน

ผู้หญิงที่มีอาการปวดเต้านม ควรจะปฏิบัติอย่างไรสำหรับหญิงสาวที่อยู่ในวัยรุ่นถ้ามีอาการปวดเต้านมทั้งสองข้างและเกี่ยวข้องกับการมีรอบเดือนก็ควรจะตรวจเต้านมด้วยตนเอง ถ้าไม่พบความผิดปกติอะไรก็ไม่ต้องกังวลใจ ถ้ามีอาการปวดมากก็ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษา ซึ่งแพทย์เมื่อตรวจแล้วก็จะแนะนำและจัดยาให้ตามอาการ สิ่งที่สามารถทำได้เพื่อลดอาการปวดมีดังต่อไปนี้

  1. ประคบอุ่นหรือเย็น
  2. หาเสื้อชั้นในที่เหมาะสมไม่คับหรือหลวมเกินไป
  3. ใส่ชุดเสื้อชั้นในแบบกีฬา (sport bra) ขณะออกกำลังกายหรือขณะที่มีอาการปวดเต้านม
  4. ผ่อนคลายเครียดโดยการทำสมาธิ หรือ relaxation therapy
  5. งดการดื่มกาแฟ มีผู้หญิงจำนวนมากที่หยุดดื่มกาแฟแล้ว อาการปวดเต้านมจะหายไป
  6. ลดปริมาณอาหารพวกไขมัน
  7. รับประทานวิตามิน E แม้ว่าจะยังไม่เป็นที่รับรองอย่างเป็นวิชาการแต่ก็ได้ผลดี
  8. ยาแก้ปวดที่มีอยู่ในท้องตลาด เช่น พาราเซตามอล ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่พวก สเตียรอยด์ (NSAIDs) ก็ใช้ได้ผลดี
  9. ในรายที่มีอาการมากจนไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติ ประจำวันได้ก็ควรพบแพทย์เพื่อรักษาฮอร์โมนพวก Danazol หรือ Tamoxifen ต่อไป ฮอร์โมนเหล่านี้มีผลข้างเคียงสูง จึงจะสงวนไว้เฉพาะในกลุ่มที่มีอาการปวดอย่างรุนแรงเท่านั้น

สำหรับหญิงที่อยู่ในกลุ่มมีความเสี่ยงสูง เมื่อมีอาการปวดเต้านม ควรที่จะพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดต่อไป

  1. ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี โดยเฉพาะถ้าหลังหมดประจำเดือน
  2. มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อนโดยเฉพาะในเต้านมอีกข้าง
  3. มีประวัติคนในครอบครัวหรือญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม
  4. มีลูกช้าหรือไม่มีลูก
  5. มีประจำเดือนครั้งแรกเร็ว (ก่อนอายุ 12 ปี) หรือหมดประจำเดือนช้า (หลังอายุ 55 ปี)
  6. หญิงที่เคยได้รับรังสีบริเวณหน้าอก
  7. ความหนาแน่นของเนื้อเต้านมมาก (จากการทำแมมโมแกรม)
  8. ผู้หญิงที่อ้วนเร็วหลังหมดประจำเดือน
  9. การรับฮอร์โมนรักษาหลังวัยหมดประจำเดือน
  10. แม่ที่ไม่ได้ให้นมลูก (non breast feeding)
  11. หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

จะเห็นได้ว่าความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม มีทั้งที่หลีกเลี่ยงได้ เช่น การดื่มสุรา หรือหารให้นม และที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว และผู้หญิงที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมก็ไม่ได้เป็นมะเร็งไปทั้งหมด เมื่อรู้ตัวว่ามีความเสี่ยงเช่นนี้ก็สามารถป้องกันได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตัวเองและไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คแต่เนิ่นๆ เป็นประจำเมื่อมีอายุมากขึ้นและโดยเฉพาะเมื่อมีอาการปวดเต้านมเกิดขึ้น

เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับสุขภาพดี

หญิงมีครรภ์ กับภาวะรกเกาะต่ำ

หากพูดว่า ภาวะรกเกาะต่ำ คงจะไม่มีสูติแพทย์คนไหนที่อยากเจอกับผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะแบบนี้ เนื่องจากภาวะรกเกาะต่ำนั้น

เคล็ดลับสุขภาพดี

ภัยร้ายผู้หญิง สาร GHB อาจทำให้เสียตัว

อ่านข่าวจาก เดลินิวส์วันนี้แทบจะร้องกรี๊ด เพราะคิดว่าหวุดหวิดแต่ๆ เกือบจะโดนกับตนเองมาแล้ว เรื่องของ น้ำมนต์เสียตัว ผสมสาร จีเอชบี มีวางขายเกลื่อน!–more–> เนื้อข่าวบอกว่าสาร ghb ตัวนี้ช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศผู้หญิงได้ดีด้วยสิ แต่แหม ถ้าใครจะมาทำแบบนี้โดยที่หวังผลอะไรล่ะก็ อันตรายเลยล่ะนะ<

เคล็ดลับผิวสวยใส

การเร่งผิวขาวด้วยสารกลูต้าไธโอน

ในร่างกายคุณมีกูลูต้าไธโอนอยู่แล้ว โดยสารตัวนี้มาจากตับ ซึ่งทำหน้าที่สร้างสารกลูต้าไธโอนให้กับร่างกาย คุณคงรู้จักหมู่อาหารโปรตีนได้แก่ เนื้อสัตว์ นม ในหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์

เคล็ดลับความงาม

การดูแลผิวสวย สุขภาพดี สมวัย

เคล็ดลับการดูแลผิวให้สวยสมวัยนั้นทำได้ไม่ยาก ปกติแล้วผิวสวยคือสิ่งสำคัญในอันดับแรกที่สาวทุกคนปรารถนา

เคล็ดลับความงาม

เคล็ดลับสุขภาพและสมุนไพรเพิ่มความงาม

การรักษาผิวสวยของสาวๆ ทุกวัย ที่เกี่ยวข้องกับการกินอาหารนั้น ปกติแล้วควรเน้นสารกลูต้าไธโอนเป็นพิเศษ

เคล็ดลับผิวสวยใส

Sun Protection Bocking Fabric

Sun Protection Factor (SPF) : ตัวเลขแสดงประสิทธิภาพของครีมกันแดดในการป้องกันอาการแดงของผิวซึ่งส่วนใหญ่มาจาก รังสี UVB หรือ A number