โรคเนื้องอกในสมอง เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ แม้จะไม่มากเท่ากับโรคมะเร็งชนิดต่างๆ แต่นั่นก็สามารถคร่าชีวิตของผู้ป่วยได้
และถึงแม้ว่าโลกเราจะมีผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมองรวมทั่วโลกแล้ว มีอยู่เพียง 16 คน ต่อประชากรแสนคนก็ตาม ถึงจะเป็นจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับเนื้องอกที่เกิดขึ้นกับอวัยวะอื่นๆ แต่ด้วยการดำเนินโรคที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า และไม่มีอาการบ่งชี้ชัดเจนในระยะเริ่มต้น ทำให้ผู้ป่วยเนื้องอกในสมองส่วนใหญ่มักรู้ตัวและไปพบแพทย์เมื่อสายเกินไป การรักษาจึงทำได้ด้วยความยากลำบากและอาจไม่ได้ผลดีนัก
อาการปวดหัวเรื้องรัง เป็นสัญญาณอันตรายของโรคเนื้องอกในสมอง
รศ.นพ.ดร.ยศ นวฤทธิ์โลหะ ศัลยแพทย์ระบบประสาท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อธิบายว่า เนื้องอกในสมองอาจไม่ใช่เนื้อร้ายเสมอไป แต่ถ้าปล่อยไว้โดยไม่รักษา มันก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกดแกนสมอง ซึ่งจะส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกันไปตามแต่ตำแหน่งของการเกิดเนื้องอก ตั้งแต่อาการหน้าชา ตาเหล่ ปากเบี้ยว ทรงตัวลำบาก แขนขาอ่อนแรง มีปัญหาเรื่องการมองเห็น การพูด การได้ยิน หรือมีพฤติกรรมการรับรู้และระดับความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป ในบางรายที่เนื้องอกเข้าไปอุดตันทางเดินของน้ำในสมองก็จะมีอาการปวดหัวรุนแรงจนถึงขั้นหมดสติหรือเสียชีวิตได้
ในปัจจุบันแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดเนื้องอกในสมองได้ ซึ่งยกเว้นเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในตำแหน่งอื่นแล้วมีการกระจายของมะเร็งมาที่สมองทางกระแสเลือด หรือเนื้องอกในสมองบางชนิดที่มีข้อบ่งชี้ว่าเป็นสาเหตุจากปัจจัยทางพันธุกรรม มีประวัติการได้รับการฉายแสงบริเวณศีรษะ หรือฮอร์โมนเพศ เป็นความจริงที่ต้องยอมรับว่าในทางการแพทย์ไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดเนื้องอกในสมองได้ และการตรวจหาก็ทำได้ยากในระยะแรกเริ่ม
รศ.นพ.ดร.ยศ ให้ข้อมูลว่า แพทย์ทั่วไปจะรู้แค่ว่าเนื้องอกในสมองเกิดได้ในทุกกลุ่มอายุ และจากการศึกษาพบว่าสาเหตุกว้างๆ มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างสารพันธุกรรม หรืออาจเป็นผลจากสภาพแวดล้อม ซึ่งการที่ยังไม่รู้สาเหตุนี้เอง จึงเป็นเรื่องยากสำหรับการตรวจพบตั้งแต่ในระยะแรกๆ โดยมากผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ก็มักมีอาการบ่งชี้บางอย่าง อันเป็นผลจากการที่เนื้องอกเติบโตจนไปกดทับเส้นประสาทบางส่วนแล้ว ถึงจุดนั้นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดคือ ต้องผ่าตัดเท่านั้น
ในสมัยก่อนมีการรักษาโรคเนื้องอกในสมอง ด้วยวิธีการฉายแสงเพื่อให้ก้อนเนื้องอกฝ่อลง แต่จากข้อมูลทางสถิติและการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ พบว่าวิธีการนี้กลับกลายเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากผลข้างเคียงของรังสีที่ฉายเข้าไปในสมอง ทำให้ปัจจุบันกระบวนการรักษาเนื้องอกในสมองจึงหันมาใช้วิธีการผ่าตัดเป็นหลัก ซึ่งสามารถทำได้หลายทาง ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของเนื้องอกที่พบ
แม้การสังเกตอาการของเนื้องอกในสมองจะทำได้ยาก แต่ใช่ว่าจะไม่มีความสำคัญ ซึ่ง รศ.นพ.ดร.ยศ ทิ้งท้ายว่า ส่วนที่ไม่ใช่เนื้อร้าย อาการบ่งชี้จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ว่าเป็นเนื้องอกชนิดใด โดยทุกชนิดเริ่มต้นที่อาการปวดหัว ซึ่งอาจเป็นร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น อาเจียน ตามัว หูดับ แขนขา อ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก โดยลักษณะเฉพาะที่สำคัญที่สุดของเนื้องอกในสมองจะมีเพียงประการเดียวเท่านั้นคือ การปวดหัวเรื้อรัง โดยเฉพาะช่วงเวลาตื่นนอน แล้วอาการจะรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกวันโดยที่ยาแก้ปวดก็ไม่ทำให้ดีขึ้น ดังนั้น ใครที่มีอาการปวดหัวติดต่อกันเกินหนึ่งสัปดาห์โดยหาสาเหตุไม่ได้ ควรรีบไปพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อสแกนสมองอย่างละเอียด แล้วรีบรักษาในขณะที่ ก้อนเนื้องอกยังมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก
ในปัจจุบันการผ่าตัดเนื้องอกในสองนั้น แพทย์จะทำการผ่าตัดด้วยวิธีที่เรียกว่า จุลศัลยกรรม หรือ Microneurosurgery คือการใช้กล้องขยาย ทำให้มองเห็นจุดเล็กๆ ในสมองส่วนที่อยู่ลึกได้ โดยผู้ป่วยบางรายอาจมีความเสียหายเกิดขึ้นกับเส้นประสาทไปมากแล้ว ขั้นตอนการผ่าตัดจึงต้องอาศัยความระมัดระวังสูง เพราะหากเกิดความผิดพลาดขึ้นที่จุดใดจุดหนึ่ง คนไข้ก็อาจพิการ สูญเสียการรับรู้ด้านประสาทสัมผัสบางอย่าง หน้าเบี้ยว หรือควบคุมอวัยวะบางส่วนไม่ได้อีก
ความพิเศษอย่างหนึ่งของการรักษาเนื้องอกในสมอง คือเราต้องใช้วิทยาการทางการแพทย์ทุกอย่างที่มีร่วมกัน ตั้งแต่บุคลากร ซึ่งหมายถึงศัลยแพทย์และทีมงานต้องมีความสามารถสูง และรู้สถานการณ์เท่าทันกันตลอดการผ่าตัด ประกอบกับเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น เครื่องกระตุ้นเส้นประสาทเพื่อกำหนดตำแหน่งของเส้นประสาทที่อยู่ในก้อนเนื้องอก ซึ่งทำให้แพทย์ลงมือผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ
เนื้องอกในสมองรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่ต้องอาศัยความระมัดระวังอย่างสูง
อ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์แนวหน้า
เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
โรคภัยไข้เจ็บ
ปวดหลัง สร้างปัญหาหนักอก
อาการปวดหลัง ยังคงเป็นอาการที่สร้างปัญหาและความทุกข์ทรมาน นำพาผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์อีกเป็นจำนวนมาก
เคล็ดลับความงาม
สุขภาพดี ด้วย มะนาว
ในคอลัมน์ The Lemon Juice Diet ยังออกมาสนับสนุนให้ประชาชนวางแผนเมนูการทำอาหารในแต่ละมื้อว่า ต้องมีมะนาวรวมอยู่ด้วย หรือดัดแปลงรสชาติอาหารให้มีรสเปรี้ยวถูกปากมากยิ่งขึ้น
โรคภัยไข้เจ็บ
การดูแลผู้ป่วยที่เป็น โรคหัวใจขาดเลือด
ผู้ป่วยที่มีอาการโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนั้น มักแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น เจ็บกลางหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่ขึ้นมาเล็กน้อย
โรคภัยไข้เจ็บ
ไข้เลือดออก ภัยจากยุงลาย
หน้าฝนนี้ คนต่างจังหวัดส่วนใหญ่หลีกหนียุงไม่พ้น แม้ว่าจะไม่ใช่หน้าฝนก็ยังจะมียุงชุม ยุงแต่ละชนิดก็นำไข้ นำเชื้อโรคมาต่างกัน
โรคภัยไข้เจ็บ
ป้องกันการเกิดโรคในวัยทอง
หญิงวัยทอง มักเป็นช่วงต่อระหว่างวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและในวัยสูงอายุ โดยประชากรชายและหญิงในช่วงอายุ 40 หรือ 45 ปีขึ้นไป
เคล็ดลับสุขภาพดี
ข้อห้ามตอนเข้านอน
หลังจากเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามาทั้งวันแล้ว การนอน จึงถือเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง แต่จะนอนอย่างไรให้ได้สุขภาพดี