ในประเทศไทยเอง มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของหญิงไทยเลยทีเดียว
จากสถิติพบรองจากมะเร็งปากมดลูก และเป็นสาเหตุของการตายของหญิงไทยที่สำคัญ และในสถิติโดยรวมทั่วโลกนั้น อัตราการเป็นมะเร็งเต้านมของผู้หญิงสามารถพบมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณว่า ผู้หญิงที่เดินบนท้องถนน มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านมในช่วงหนึ่งของชีวิตมากถึง 1 คนใน 10 คนเลยทีเดียว
เรื่องมะเร็งเต้านม นี้ น.พ.นพวัชร์ สมานคติวัฒน์ กลุ่มงานศัลยกรรม ร.พ.ราชบุรี บอกว่าส่วนใหญ่พบในผู้หญิง ส่วนในผู้ชายก็พบได้แต่น้อยกว่ามาก โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ การมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุยังน้อย, การหมดประจำเดือนช้า, ไม่มีลูก หรือมีลูกคนแรก เมื่ออายุเกิน 30 ปี, มีประวัติครอบครัว มีเนื้อเยื่อเต้านมที่ผิดปกติ การรับประทานอาหารไขมันมาก, การดื่มเหล้า ก็เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้พบเพียง 25% ของผู้ป่วย ขณะที่ 3 ใน 4 ของผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง กล่าวคือผู้หญิงทุกคนล้วนเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้ การยับยั้งเชื้อมะเร็งเต้านมกับสมุนไพร
การเกิด มะเร็งเต้านม
ในระยะเริ่มแรกนั้นจะไม่มีอาการ และสามารถตรวจพบความผิดปกติได้จาก การเอกซเรย์เต้านม ที่เรียกว่าแมมโมแกรมเท่านั้น ต่อมาเมื่อมีการคลำเจอเป็นก้อนแข็ง ระยะแรกเป็นก้อนเล็ก ถ้าทิ้งไว้ก็จะมีการขยายขนาดขึ้นในที่สุด และก็จะแตกออกมาเป็นแผล ในผู้ป่วยบางคนอาจมาหาแพทย์ด้วยอาการของมะเร็งระยะแพร่กระจาย เช่น ถ้ากระจายไปที่ปอดก็จะมีอาการไอ หอบเหนื่อย ถ้ากระจายไปที่กระดูก ก็จะมีอาการปวดกระดูก
ก้อนของเต้านมนั้น ส่วนใหญ่ไม่ใช่มะเร็ง แต่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้นหากอายุมากขึ้น รายงานนี้วัดจากสถิติ ก้อนที่เต้านมทุกช่วงอายุ พบมะเร็ง 15-20% หากอายุน้อยกว่า 30 ปี พบมะเร็งเพียง 1.5% หากอายุเกิน 50 ปี พบถึง 60%
ก้อนที่เป็นมะเร็งส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ (พบเพียง 15% ที่มีอาการเจ็บ) ซึ่งทำให้คนไข้เข้าใจผิดคิดว่าไม่เจ็บคงไม่ใช่มะเร็ง แล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ เมื่อพบว่ามีก้อนเนื้อที่เต้านมจึงควรได้รับการตรวจและวินิจฉัยจากแพทย์อีกครั้ง และสม่ำเสมอ
การรักษามะเร็งเต้านม
การรักษาหลักของมะเร็งเต้านม คือ การผ่าตัด อาจร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด การฉายแสง หรือการให้ยาฮอร์โมน มะเร็งเต้านม หากรักษาในระยะแรก สามารถให้การรักษาจนหายขาดได้ แต่หากปล่อยไว้จนเป็นมาก ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ (มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในประเทศสหรัฐอเมริกา)
เนื่องจากเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งเต้านม และผู้ป่วยส่วนใหญ่ ก็ไม่มีปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมา การป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการค้นพบให้เร็วที่สุด ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 อย่างคือ
คลำเจอก้อนเนื้อใต้ราวนม เป็นมะเร็งหรือไม่
- การตรวจเต้านมด้วยตนเอง : แนะนำให้เริ่มตรวจเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป โดยตรวจเป็นประจำทุกเดือน
- การตรวจเต้านมโดยแพทย์ : แนะนำในอายุ 20-40 ปี ควรตรวจทุก 3 ปี อายุมากกว่า 40 ปี ควรตรวจทุกปี
- การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม : ควรเริ่มทำเมื่ออายุ 35 ปี และเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุก 1-2 ปี
การตรวจเต้านมด้วยตนเองนับเป็นความสำคัญอันดับหนึ่ง เนื่องจากผู้ป่วย มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มาพบแพทย์ด้วยเรื่องก้อนที่เต้านม โดย 80-90% ของก้อน ผู้ป่วยคลำพบเอง หากไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเองเลย ก้อนที่พบมักจะมีขนาดใหญ่ ประมาณ 3-5 ซ.ม. หรือมากกว่า
หากเคยตรวจบ้างเป็นครั้งคราว ก้อนมักมีขนาด 2-3 ซ.ม. หรือ หากตรวจประจำทุกเดือน อาจพบก้อนได้ตั้งแต่ขนาด 1-2 ซ.ม. หรือเล็กกว่า มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้
มีความเชื่อบางประการที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง และควรได้รับการแก้ไข โดยหลักง่ายๆ ของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง คือ ให้เริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเอง ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป โดยตรวจเป็นประจำทุกเดือน ในช่วงหลังหมดประจำเดือนแล้ว 7-10 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่เต้านมไม่มีการคัดตึง เริ่มจากการยืนหน้ากระจก เพื่อดูความผิดปกติ จากนั้นจึงใช้ส่วนปลายของฝ่านิ้วมือ 3 นิ้ว คือ ชี้ กลาง นาง กดคลำให้ทั่วเต้านม ในท่านอน และท่ายืน
ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิด มะเร็งเต้านม
- ใช้ฮอร์โมนทดแทนในการรักษาภายหลังวัยหมดประจำเดือน
- ใช้ยาคุมกำเนิดแบบรับประทาน (OCPs) เป็นระยะเวลานาน
- ไม่เคยให้นมบุตร
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2-5 แก้วต่อวัน
- มีน้ำหนักตัวมากเกินไป (โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน)
- ขาดการออกกำลังกาย
- รับประทานอาหารพวกไขมันมากเกินไป
การใช้ฮอร์โมนทดแทนหรือยาคุมกำเนิดแบบ รับประทานอาจมีความจำเป็นแม้ว่าจะมีความเสี่ยง แต่ ความสัมพันธ์ระหว่างยาคุมกำเนิดแบบรับประทานกับมะเร็งเต้านมยังคงเป็นที่ถก เถียงกัน ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ว่ามีทางเลือกอื่นๆ บ้างหรือไม่
ปัจจัยเสี่ยง ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ อาจทำให้เกิด มะเร็งเต้านม
- เป็นผู้หญิง
- อายุ (ความเสี่ยงมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น)
- มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
- หมดประจำเดือนหลังอายุ 50 ปี
- การที่ไม่เคยมีบุตร
- มีบุตรภายหลังอายุ 30 ปี
- มีแม่ พี่น้อง หรือลูกสาวเคยเป็นมะเร็งเต้านม
- เคยตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านม หรือเต้านมมี การเปลี่ยนแปลงอยู่ในภาวะก่อนเป็นมะเร็งเต้านม
- มีความผิดปกติของยีนส์ที่ได้รับ การถ่ายทอดพันธุกรรมมาจากพ่อแม่
- เคยมีประวัติเป็นมะเร็งมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ (รวมถึงประวัติในครอบครัวเคยมีคนเป็นด้วย)
การตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ และเมื่อพบความผิดปกติใดๆ ควรรีบไปรับการตรวจเบื้องต้น หรือตรวจร่างกายกับแพทย์เป็นระยะ ในช่วงที่เหมาะสมกับวัยและประวัติความเสี่ยง จะช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก
เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับผิวสวยใส
ปัญหา สิว กับ ครีม หน้าใส
ขึ้นชื่อว่า สิว สาวๆ หลายคนก็ทำหน้าแหยงกันยกใหญ่ ยิ่งเกิดปัญหาสิวอักเสบ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง
เคล็ดลับผิวสวยใส
โรคด่างขาว คุณผู้หญิง
อาการของ “โรคด่างขาว” มีอันตรายอย่างไร เกิดขึ้นได้จากสาเหตุใด และมีวิธีการรักษาหรือไม่ มีคำอธิบายจากคุณหมอโรคผิวหนังมาฝาก
สุขภาพเต้านม ทรวงอก
ผู้ชายกว่า 80% ชอบผู้หญิงที่ นมใหญ่
คุณรู้ไหมว่าผู้ชายส่วนใหญ่แล้วประมาณร้อยละ 80 ชอบผู้หญิงที่มีหน้าอกใหญ่ หรือนมใหญ่ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ
ลดและควบคุมน้ำหนัก
อาหารลดอ้วน ลดเค็ม ก็ผอมได้
จากเมนูลดอ้วน เพื่อหุ่นสวย คราวที่แล้วได้เอ่ยถึงการแนะนำให้รับประทาน โปรตีนก่อนมืออาหารหลักจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อแทนชั้นไขมัน อาจจะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของบรรดาสาวๆ ที่อยากจะหุ่นดี
เคล็ดลับความงาม
สุขภาพดี ด้วย มะนาว
ในคอลัมน์ The Lemon Juice Diet ยังออกมาสนับสนุนให้ประชาชนวางแผนเมนูการทำอาหารในแต่ละมื้อว่า ต้องมีมะนาวรวมอยู่ด้วย หรือดัดแปลงรสชาติอาหารให้มีรสเปรี้ยวถูกปากมากยิ่งขึ้น
เคล็ดลับความงาม
เคล็ดลับอกสวย สุขภาพดี
เผยเคล็ดลับความงามด้วย วิธีทำให้หน้าอกอึ๋ม เฟิร์ม กระชับ ได้สัดส่วน เพราะหน้าอก ถือเป็นเสน่ห์อันเย้ายวนอีกอย่างหนึ่งของผู้หญิง การเป็นเจ้าของหน้าอกสวย เป็นสิ่งที่สาวๆ ทุกคนใฝ่ฝันหา แต่จะทำอย่างไรถึงจะได้เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่ามีหน้าอกสวย