Medications in the Breast-feeding mother หรือ การใช้ยาในมารดาที่ให้นมบุตร โดยหลักการทั่วไปในการใช้ยาของมารดาที่ให้นมบุตรนั้นมีดังนี้
- พิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้ยาจริงๆ และสามารถเลื่อนการใช้ยาออกไปได้หลังหย่านมหรือไม่
- เลือกใช้ยาที่ยอมรับกันว่ามีความปลอดภัยในทารก หรือมีการรับรองจากบริษัทผู้ผลิต
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทราบว่ามี toxicity ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาใหม่ๆที่มีข้อมูลน้อย ให้ใช้ยาที่ออกมานานและมีผลการใช้ยาในมารดาที่ให้นมลูกว่าไม่มีอันตราย
- เลือกใช้ยาที่ผ่านไปน้ำนมได้ยาก ,มี half-life สั้น, มีความสามารถจับกับโปรตีนได้ดี,ละลายในไขมันได้ไม่ดี และมีการดูดซึมที่ทางเดินอาหารได้ไม่ดี
- เลือกการให้ยาแบบวันละครั้งเดียว ดีกว่าแบบวันละหลายๆ ครั้ง ถ้าให้ยาแบบวันละครั้ง ควรให้แม่กินยาหลังที่ลูกกินนมแม่และมีการหลับเป็นระยะเวลานาน ถ้าให้แบบหลายครั้งให้ลูกกินนมก่อนแม่กินยาทันที
- เลือกวิธีการให้ยาที่ทำให้ระดับยาในเลือดแม่ไม่สูง เช่นใช้แบบ ทา ดีกว่าฉีดหรือกิน
- ไม่ว่าใช้ยาอะไร ควรเลือกใช้ในขนาดต่ำ และใช้เป็นระยะเวลาสั้นที่สุด
ปัจจัยต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อความปลอดภัยต่อทารกนั้นมีหลายประการ เป็นต้นว่า ปัจจัยทางคุณสมบัติของยา (Drugs factors) ปัจจัยทางทารก (Infant factors) และ ปัจจัยทางมารดา (Maternal factors)
ปัจจัยทางคุณสมบัติของยา (Drugs factors)
- Diffusion or active transport. ยา ส่วนใหญ่ผ่านไปน้ำนมโดยวิธี Diffusion นั่นคือถ้าระดับยาในplasmaแม่สูง ระดับยาน้ำนมก็สูงขึ้นด้วย แต่ยาบางตัวใช้วิธี active transport ทำให้ความเข้มข้นของยาในน้ำนมสูงกว่าในplasma ของแม่
- Protein binding ยาที่จับกับโปรตีนได้ดี เช่น warfarin จะมีระดับยาต่ำในน้ำนม
- Lipid-solubility ยาที่ละลายได้ดีในไขมัน จะผ่านไปน้ำนมได้มากขึ้น
- Degree of ionization ยาที่ไม่มีการแตกตัว(unionized)ใน plasma จะผ่านไปน้ำนมได้มากกว่ายาที่มีการแตกตัวดีกว่า
- Molecular weight ยาที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำเช่น Lithium จะผ่านไปน้ำนมได้เร็วหลังจากแม่กินยา ส่วนยาที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงช่น Heparinจะไม่ผ่านไปน้ำนมแม่
- Oral bioavailability ยาบางตัวถูกทำลายที่ทางเดินอาหารของทารกได้ ไม่ผ่านไปยังระบบไหลเวียนของทารกจึงไม่มีความเสี่ยง หรือยาบางตัวดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ไม่ดี เช่น aminoglycosides จึงมีผลน้อยต่อทารก
- Half-life ถ้าแม่ได้ยาที่มี half-life ยาว หรือมี active metabolite ที่อยู่นาน ความเสี่ยงต่อทารกก็มากขึ้น โดยทั่วไปจึงควรหลีกเลี่ยงยาพวกนี้ โดยเฉพาะในทารกที่คลอดก่อนกำหนด
- Non-doserelated toxicity มียาจำนวนน้อยที่อาจทำให้เกิดการแพ้ยา ซึ่งไม่เกี่ยวกับปริมาณยาที่ได้รับ
ปัจจัยทางทารก (Infant factors)
- Age ทารกแรกคลอดโดยเฉพาะ ทารกคลอดก่อนกำหนด มีความเสี่ยงมากขึ้นเนื่องจากความสามารถในการกำจัดยาออกจากร่างกายไม่ดี มีการสะสมของยามากกว่า
- Health status ทารกน้ำหนักน้อย หรือป่วย มีความเสี่ยงมากขึ้น ภาวะอื่นเช่น Renal ,liver impairment, G6PD deficiency หรือ dehydration
ปัจจัยทางมารดา (Maternal factors)
- Dose โดยทั่วไป ระดับยาในน้ำนมมีความสัมพันธ์กับขนาดยาที่มารดาได้รับ
- Route of administration การให้ยาทาง parenteral ระดับยาผ่านไปน้ำนมจะสูงกว่าการกิน ส่วนยาทาหรือยาพ่นจะผ่านไปน้อยมาก
- Health status มารดาที่มี renal หรือ hepatic impairment จะมีการสะสมยามากกว่า จะเพิ่มความเสี่ยงต่อทารก
เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับผิวสวยใส
Fashion UV Leggings Protected Body
เดี๋ยวนี้แฟชั่นเสื้อผ้ามาแรง ตัวอย่างในรูป สาวๆ หลายคนชอบใส่ไปเที่ยว ดูแล้วเซ็กซี่ น่ารักไปอีกแบบ
เคล็ดลับความงาม
ชะลอความแก่ด้วย งาม้อน
ในบ้านเรานั้น เริ่มมีการปลูกงาม้อน มานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคเหนือ
ลดและควบคุมน้ำหนัก
ลดน้ำหนักไม่ให้โทรม
การลดน้ำหนักปกติสำหรับสาวๆ ทำได้ยาก โดยไม่ให้เสียสุขภาพร่างกาย หรือเรียกว่า โทรม ดังนั้นต้องหาวิธีการที่จะลดน้ำหนักโดยไม่ให้เป็นบักโกรก
ลดและควบคุมน้ำหนัก
กาแฟลดความอ้วน อันตราย
กาแฟอันตราย ในปัจจุบันนี้ สาวๆ นิยมการบริโภคกาแฟลดความอ้วน และสินค้าชนิดนี้ก็ได้รับความนิยมสูงมากในกลุ่มเด็กสาวและวัยทำงาน
เคล็ดลับความงาม
ซิลิโคนเหลว อาจถึงขั้น ห้ามใช้
แพทยสภาจ่อคุม ซิลิโคนเหลว อาจถึงขั้นห้ามใช้ เพราะอาจพบสาเหตุที่จะทำให้เกิดปัญหาในการศัลยกรรมเสริมความงาม ทำให้ไม่ได้รูป
เคล็ดลับความงาม
แต่งสวยรับลมหนาว
หน้าหนาวที่ใกล้จะถึงนี้ บรรดาสาว ๆ ได้แต่งตัวสวยเก๋กันแบบไหนนะ เปิดตัวเตรียมต้อนรับฤดูกาลใหม่แห่งความสวย