เมื่อเอ่ยถึง ครีมกันแดด หลายคนก็จะรู้จักโดยเฉพาะผู้ที่ดูแลผิวเป็นอย่างดีมักจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
ที่มีส่วนผสมเพื่อป้องกันแสงแดดเป็นนิจอยู่แล้ว ครีมกันแดดนั้นเป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์ ช่วยปกป้องผิวหนังจากแสงแดด ชนิดของครีมกันแดด มีสองชนิด คือ Chemical sunscreen และ Physical sunscreen โดยทั้งสองชนิดนี้มีคุณสมบัติป้องกันรังสียูวีทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพ เรามาดูกันว่าครีมกันแดดแต่ละชนิดนั้น มีคุณสมบัติอะไรกันบ้าง
- Chemical sunscreen : มีคุณสมบัติในการดูดซับแสงแดด และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB มีหลายชนิด เช่น เช่น Parsol 1789, Cinnamates, Benzophenones
- Physical sunscreen : ออกฤทธิ์โดยการสะท้อนแสงแดดออกจากผิวหนัง ซึ่งมีส่วนผสมหลักก็คือ ไททาเนียม ไดออกไซด์ (Titanium dioxide) และ ซิงค์ ไดออกไซด์ (Zinc dioxide) ที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนกลับสูง สารในกลุ่มนี้ ป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB และถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังน้อยมาก จึงไม่พบการแพ้ แต่มีข้อเสียคือ ทาแล้วจะมองเห็นผิวเป็นสีขาวเกินไป มักเป็นคราบเวลาเหงื่อออกมากๆ หรือเวลาโดนน้ำ ต่อมาจึงได้มีการปรับปรุงให้ particle size มีขนาดเล็กลง เมื่อทาแล้วจะเห็นสีขาวน้อยลง แต่พบว่าการออกฤทธิ์เมื่อ particle size เล็กมากๆ จะเปลี่ยนเป็นแบบดูดซับแสง คล้ายกับ chemical sunscreen อย่างไรก็ตาม สารในกลุ่มนี้ค่อนข้างinert จึงปลอดภัย ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องแพ้สัมผัส
การเลือกใช้ครีมกันแดด
- เลือกครีมกันแดดที่ประกอบไปด้วยสารกรองรังสีได้ทั้ง UVA และ UVB สารกันแดดที่มีฤทธิ์ป้องกัน UVA ได้ดี ในปัจจุบัน ได้แก่ Oxybenzone, Parsol 1789, Mexoryl SX, XL, Tinosorb M,S เป็นต้น ครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพกัน UVA ได้ดี ควรจะมีสารดังกล่าวผสมกันอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป ในความเข้มข้น 2-3% ร่วมกับมีส่วนผสมของ Titanium dioxide และ Zinc Oxide เพื่อป้องกัน UVB ได้ดีด้วย
- ได้รับค่า SPF ตามมาตรฐานยุโรป
SPF คืออะไร สำคัญอย่างไร
- SPF (Sun Protection Factor) คือตัวเลขที่บอกความสามารถของครีมกันแดด ในการป้องกันไม่ให้ผิวหนังเกิดการไหม้แดด ดังนั้นค่า SPF คือค่าบอกระดับการป้องกันรังสี UVB เท่านั้น
- ตัวเลขของ SPF คือจำนวนเท่าของระยะเวลาที่เราจะอยู่ท่ามกลางแสงแดดได้ โดยไม่เกิดการไหม้แดด เมื่อเทียบกับไม่ใช้ครีมกันแดด โดยผิวหนังที่ทำการทดสอบ ต้องทาครีมกันแดดในปริมาณ 2 มก./ตร.ซม. ตัวอย่างเช่น ถ้าในเวลาปกติที่ไม่ใช้ครีมกันแดด ถ้าออกไปอยู่กลางแดด เป็นเวลาประมาณ 30 นาที จะเกิดผิวไหม้ เมื่อใช้ครีมกันแดดที่มี SPF 15 จะสามารถอยู่ได้นานขึ้น 15 เท่า โดยไม่มีอาการไหม้แดด ซึ่งก็เท่ากับ 7 ชั่วโมง 30 นาที
ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับ SPF
- SPF บอกแต่ความสามารถในการป้องกัน UVB เท่านั้น เนื่องจากใช้การไหม้แดดเป็นตัววัด ซึ่งการไหม้แดดเป็นผลจาก UVB
- แม้ว่า SPF จะสูงเท่าใด ก็ไม่ได้สามารถกันแสงUVได้ 100%
- ปริมาณ SPF นั้นมีให้เลือกตั้งแต่ 2 จนถึง 100 แต่มิได้หมายความว่า SPF 50 จะช่วยปกป้องผิวได้เป็นสองเท่าของ SPF 25 ยกตัวอย่างเช่น
– SPF 2 สามารถปกป้องผิวจากแสง UVBได้ประมาณ 50 %
– SPF 15 สามารถปกป้องผิวจากแสง UVBได้ประมาณ 93%
– SPF 20 สามารถปกป้องผิวจากแสง UVBได้ประมาณ 95 %
– SPF 30 สามารถปกป้องผิวจากแสง UVBได้ประมาณ 97%
– SPF 50 สามารถปกป้องผิวจากแสง UVBได้ประมาณ 97 %
– SPF 75 สามารถปกป้องผิวจากแสง UVBได้ประมาณ 98 % - ในปัจจุบัน การวัดประสิทธิภาพ ของการป้องกันแสง UVA ยังไม่มีมาตรฐานสากล เหมือนค่าSPF และความสามารถในการป้องกัน UVA ก็ไม่สัมพันธ์กับค่า SPFที่สูงขึ้นด้วย
- PPD เป็นค่าการวัดการปกป้องรังสี UVA ซึ่งก็มี concept เดียวกับ SPF คือ สามารถกันรังสีนั้นๆ ได้กี่เท่า
– European Standard
– PPD 2-4 = PA+
– PPD 4-8 = PA++
– PPD 8+ = PA +++ - PA (PA หรือ PFA = Protection Factor for UVA) : Japanese Standard ปัจจุบันนิยมใช้ค่า PA และเครื่องหมาย + บอกความสามารถวัดระดับการป้องกันแสง UVA โดยวัดค่าด้วยการทาครีมกันแดดประมาณ 2 มิลลิกรัม ทุกพื้นที่ผิว 1 ตารางเซนติเมตร แล้วฉายแสง UVA 20-25 jules ที่บริเวณผิวเป็นเวลา 15 นาที หลังจากนั้น 2-4 ชั่วโมงต่อมา สังเกตรอยดำคล้ำที่เกิดขึ้นบริเวณผิว จากมากจนถึงน้อย แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
– ป้องกันได้น้อยกว่า 4 เท่า จะกำหนดค่าเป็น (+)
– ป้องกันได้น้อยกว่า 4-8 เท่า จะกำหนดค่าเป็น (++)
– ป้องกันได้น้อยกว่า สูงกว่า 8 เท่า จะกำหนดค่าเป็น (+++) - UK Standard (UVA/UVB)
– uva/uvb = 0-0.2 = ไม่มีดาว
– uva/uvb = 0.21-0.4 = 1 ดาว
– uva/uvb = 0.41-0.6 = 2 ดาว
– uva/uvb = 0.61-0.8 = 3 ดาว
– uva/uvb = 0.81-0.9 = 4 ดาว
– uva/uvb = 0.91 up = 5 ดาว - ปกติคนไทยมีผิวคล้ำ ซึ่งเม็ดสีสามารถป้องกัน UVB ได้บ้างแล้ว แนะนำให้ใช้ครีมกันแดด SPF มากกว่า 15 และ PA++ ขึ้นไป ก็เพียงพอในชีวิตประจำวันซึ่งไม่ต้องเผชิญกับแสงแดดจ้ามากนัก
- เนื่องจากในการทดสอบครีมกันแดด จะทำในห้องทดลอง โดยใช้หลอดไฟเลียนแสงอาทิตย์ ซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิ, ความชื้น, การเคลื่อนไหวของผู้ทำการทดสอบ ทำให้ค่าที่ทดสอบได้ มักจะสูงกว่าการใช้จริง ดังนั้น ในความเป็นจริง ระยะเวลาที่เราจะอยู่ท่ามกลางแสงแดดได้ อาจจะเป็นเวลาประมาณ 2/3 ของเวลาที่ทดสอบเท่านั้น
- ควรเลือกครีมกันแดดชนิดที่สามารถกันน้ำได้หรือที่ระบุบนฉลากว่า ‘Water proof or Water resistant’ เนื่องจากประเทศไทยมีภูมิอากาศที่ร้อนชื้น เหงื่อออกง่าย เมื่อทาครีมกันแดดแล้ว อาจถูกเหงื่อชะออกไป ทำให้ประสิทธิภาพลดลงหรือไม่ได้ผลในการกันแดดตามระยะเวลาที่ต้องการ
– Water proof : คือ ครีมกันแดดที่ยังคงสภาพ SPF ที่กำหนด หลังจากทาครีมนี้ และอยู่ในนํ้าเป็นเวลา 80 นาที
– Water resistant : คือ ครีมกันแดดที่ยังคงสภาพ SPF ที่กำหนด หลังจากทาครีมนี้ และอยู่ในนํ้าเป็นเวลา 40นาที - PABA free : ปราศจากสาร PABA
– PABA เป็นสารเคมีที่ใช้กันมานาน แต่ต่อมาพบว่า มีการแพ้ได้บ่อย ทำให้ความนิยมลดลง
– สารในกลุ่ม Benzophenones ในระยะหลัง ก็พบการแพ้ได้บ่อยมากขึ้นเช่นกัน - Fragrance free & Oil free : ไม่มีส่วนผสมน้ำหอมและน้ำมัน จึงไม่เหนียวเหนอะหนะ และไม่ระคายเคือง หรืออุดตันผิว
- Non-Comedogenic : ไม่ทำให้เกิดสิว
- Hypo allergenic : ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ปลอดภัยต่อผิว
- ผ่านการทดลองว่า ไม่สลายจากแสง (photo stable)
ควรเริ่มทาครีมกันแดดเมื่อใด
- เนื่องจากผลระยะยาวของแสงแดดต่อผิวหนังนั้น เป็นผลสะสมในระยะยาว มีการศึกษาว่า ปริมาณแสงแดด 80% ที่คนเราได้รับตลอดทั้งชีวิตนั้น ได้มาตั้งแต่ช่วงอายุ 18 ปีแรกของชีวิต ดังนั้น จึงแนะนำว่าควรทาครีมกันแดดในทุกช่วงอายุ
- แต่ไม่แนะนำให้ใช้ครีมกันแดดในเด็กที่เล็กมาก เช่นอายุต่ำกว่า ๖ เดือน เพราะมีโอกาสแพ้สารเคมีในครีมกันแดดสูง โดยเฉพาะ สารเคมีในกลุ่ม chemical sunscreen จะพบการแพ้ได้ง่าย ที่พบบ่อยได้แก่ PABA และ Benzophenones (ส่วน physical sunscreen ค่อนข้างปลอดภัย เนื่องจากไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง) นอกจากนี้ ยังอาจแพ้สารตัวอื่นที่ผสมเข้าไปเพื่อเป็น antioxidant, preservative หรือ emulsifier ได้ด้วย ในเด็กเล็กจึงควรใช้วิธีป้องกันโดยการหลีกเลี่ยงแสงแดดแทน
การใช้ครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน จะทำให้ร่างกายขาด Vitamin D หรือไม่ สำหรับในประเทศไทย ซึ่งมีแสงแดดตลอดทั้งปี การใช้ครีมกันแดดไม่มีผลให้ร่างกายขาด Vitamin D
ขอบคุณ พญ.รจนา อรัณยกานนท์ รพ.เกษมราษฎร์ ประชาชื่น Kasemrad Aesthetics Center
เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับความงาม
แต่งหน้าให้ สวย ตลอดวัน
การแต่งแต้มสีสันให้ใบหน้าเป็นกิจวัตรประจำวันของบรรดาสาวๆ ผู้รักสวยรักงาม ไม่ว่าจะในตอนเช้า หลังทานข้าว หลังเลิกงาน หรือแม้กระทั่งในตอนที่พอจะมีเวลา
โรคภัยไข้เจ็บ
ความเครียด ทำให้เกิด โรค
ความเครียด สามารถเกิดได้ทุกแห่ง ทุกเวลา อาจจะเกิดจากสาเหตุภายนอก อย่างเช่น การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วย การหย่าร้าง ภาวะว่างงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อน
เคล็ดลับสุขภาพดี
ปัญหากลิ่นปากและการป้องกัน
ผู้หญิงที่มี กลิ่นปาก นับเป็นปัญหาหนึ่งที่สร้างความกังวลใจและความรู้สึกไม่มั่นใจให้แก่บรรดาสาวๆ ได้อย่างมาก
เคล็ดลับความงาม
วิธีการทำน้ำผักผลไม้ทาน และข้อควรจำ
ในระดับความสดของผัก และผลไม้นั้น หากมีความสดมากชนิดที่เพิ่งเด็ดมาจากต้นจะทำให้มีรสชาติดีอร่อย กรอบ
โรคภัยไข้เจ็บ
อาการปวดฉี่บ่อย โรค OAB
ในทางการแพทย์เผยอาการปวดปัสสาวะบ่อยเกินไปนั้น ถือเป็นโรคอย่างหนึ่งผู้ที่มีอาการปวดปัสสาวะบ่อยๆ ทุกชั่วโมง เวลาปวดมักจะมีอาการรุนแรงมาก
เคล็ดลับผิวสวยใส
เคล็ดลับผิวสวย สุขภาพดี
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าผู้หญิงทุกคน ล้วนต้องการมีผิวสวยสุขภาพดีไปตราบนานเท่านาน