คุณผู้หญิงทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสาวๆ หรือไม่สาวแล้วแต่นิยมรักความงาม หลงไหลรูปร่างที่ดูดี

หลายๆ คนมักมีคำถามคาใจเกี่ยวกับ การดูดไขมัน ว่าหากตกลงใจทำแล้วจะมีอันตรายไหม? หลายๆ คนที่กำลังคิดเรื่องการดูดไขมัน ซึ่งเป็นวิธีลดของการลดความอ้วน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางลัดในการทำให้รูปร่างดีขึ้น กับคำถามที่ว่า ดูดไขมันอันตรายไหม วันนี้เราก็มีคำตอบที่ค้างคาใจมาตอบให้กับทุกๆ ท่านได้หายข้องใจกันอีกด้วย ซึ่งการดูดไขมันนั้นจัดเป็นเทคนิคที่สามารกำจัดไขมันส่วนเกินหรือไขมันสะสมที่ไม่ว่าส่วนไหนการดูดไขมันก็ช่วยคุณได้ แต่การดูดไขมันอันตรายไหมนั้น มาดูคำตอบกันเลยดีกว่า

การดูดไขมันอันตราย ไหม

การดูดไขมัน จัดเป็นเทคนิคการลดไขมันที่สะสมในส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยการใช้ท่อขนาดเล็กสอดเข้าไปในชั้นผิวหนังและดูดไขมันส่วนเกินออก โดยวิธีนี้แทนที่จะต้องผ่าตัดเปิดแผลกว้างเพื่อดึงชั้นไขมันออกมา ในปัจจุบันก็สามารถทำได้โดยใช้เพียงแค่รอยเจาะเล็กๆ ซ่อนในตำแหน่งที่เหมาะสมและใช้เครื่องมือสอดเข้าไปใต้ชั้นผิวหนังในระดับชั้นไขมัน เพื่อดูดสิ่งที่ต้องการออกมา ก็สามารถลดไขมันได้ตามต้องการแล้ว

การดูดไขมัน มาตรฐานส่วนใหญ่ที่ใช้อยู่คือ ใช้เครื่องมือที่จะดูดนั้นเป็นตัวทำให้ไขมันแตกออก และดูดออกมาโดยอาศัยระบบสูญญากาศ (negative pressure) ซึ่งก็ได้ผลดี โดยในปัจจุบันได้มีการคิดค้นเครื่องมือใหม่ที่จะช่วยให้ไขมันแตกตัวก่อนทำให้การดูดง่ายขึ้นทำให้แพทย์ทำงานได้สะดวกขึ้น เช่น

  1. การใช้แรงดันน้ำ (waterjet liposuction)
  2. การใช้เลเซอร์
  3. การใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasonic liposuction)

อันตรายจากการดูดไขมัน

ปัจจุบันนี้การใช้คลื่นความถี่สูงได้มีการพัฒนาดีขึ้นมากทำให้สามารถช่วยการดูดไขมันได้ดีกว่าหลายๆ วิธีข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น การใช้แรงดันน้ำอาศัยหลักการฉีดน้ำปริมาณมากเพื่อช่วยให้ผิวหนังชาและไขมันอ่อนตัว แต่หลังผ่าตัดอาจมีน้ำเกลือหรือไขมันที่ตกค้างอยู่จะค่อยๆ ระบายออกมาหลังผ่าตัดได้ ถ้าผู้ป่วยได้รับการแนะนำก่อนก็จะไม่ต้องกังวลกับปัญหานี้ สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการและสาธิตการผ่าตัดจริงโดยเครื่องมือทั้งสองชนิดที่โรงพยาบาลภูมิพลมาแล้ว ซึ่งผู้ที่ต้องการเข้ารับการดูดไขมันอาจต้องเลือกสถานที่สำหรับการทำหน่อย ให้มีมาตรฐานในความปลอดภัยต่างๆ

ภาวะแทรกซ้อนจากการดูดไขมัน

  1. ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น การเสียเลือดมาก การมีเซลไขมันหลุดไปตามกระแสโลหิต (fat embolism) การได้ยาชาหรือยาสลบมากเกินขนาด ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้น้อยมากมักพบในรายที่ดูดไขมันปริมาณมากเกินไปใน คราวเดียวกันการดูดไขมันโดยทั่วไปโอกาสพบน้อย
  2. ภาวะแทรกซ้อนทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่องความคาดหวังของผู้รับบริการมากกว่าว่าผลการดูดไม่มาก เท่าที่ต้องการซึ่งแพทย์ที่มีประสบการณ์จะต้องชี้แจงให้ชัดเจนตั้งแต่ก่อน ผ่าตัดแล้วว่าผลที่ได้จะเป็นเช่นไร
  3. ภาวะผิวหนังเป็นคลื่นไม่เรียบ เกิดได้ในการดูดไขมันในชั้นที่ตื้นเกินไปหรือดูดไขมันในบริเวณที่มีไขมันไม่ มากอยู่แล้ว ส่วนการมีผิวหนังห้อยย้อยจะเกิดในการดูดไขมันในผู้มีอายุมาก ความยืดหยุ่นผิวหนังไม่ดี ในรายเช่นนี้การผ่าตัดไขมันหน้าท้องจะเหมาะสมกว่า

อันตรายจากการดูดไขมัน

แต่การรับประทานยาสลายไขมัน และการสลายไขมันก่อนการดูดไขมันนั้น หากไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว ไขมันส่วนที่ย่อยสลายจะแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือด อาจเกิดภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด หรือทำให้หัวใจล้มเหลวได้ ดังนั้นจึงต้องอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้ารับการดูดไขมันด้วย

เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ลดและควบคุมน้ำหนัก

การลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี

การลดและควบคุมน้ำหนักอย่างถูกวิธีนั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธีด้วยกัน แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ

สุขภาพเต้านม ทรวงอก

คำถามควรรู้กับมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย โดยพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถพบได้ 1 ใน 10 ของผู้หญิง

เคล็ดลับผิวสวยใส

เคล็ดลับหน้าใส ไร้สิว ด้วยธรรมชาติ

ทราบหรือไม่ว่า ขิง สามารถทำให้ผิวหน้าของสาวๆ มีความชุ่มชื่น ขาวใสอมชมพู ได้

เคล็ดลับสุขภาพดี

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คนไทยเป็นบ่อยต้องระวัง

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน แม้แต่หมอก็แนะนำ ให้สำรวจตัวเองบ่อย ๆ

เคล็ดลับผิวสวยใส

ผิวขาวสวย ไร้ กลูต้าไธโอน

การจะมีผิวขาว และสวยได้เหมือนดารา ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ครีมผิวขาวแพงๆ ที่มีส่วนผสมของสารอย่าง กลูต้าไธโอน

เคล็ดลับสุขภาพดี

ตัวช่วยควบคุมความดันโลหิต – ไขมันในเลือด

รู้หรือไม่ กระเจี๊ยบแดง สามารถที่จะควบคุมความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดได้อย่างดี จากข้อมูลของ ตลาดนัดสุขภาพ