เรามักพบว่าในท้องตลาดทั่วไปจะมีผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลายที่วางจำหน่ายอยู่นั้น บางรายการอาหารในชีวิตประจำวัน
มีการเพิ่มหรือเสริมสารอาหารเพื่อคุณค่าแก่ร่างกายลงไป โดยที่ผู้ผลิตจะระบุหรือแสดงรายการว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นได้ถูกเพิ่มหรือเสริมสารอาหารอะไรลงไปบ้างไว้บนฉลากข้างขวด ซึ่งหากผู้บริโภคได้อ่านฉลากก่อนตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดนั้น ก็จะทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้มีการเพิ่มสารอาหารอะไรลงไปบ้าง มีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือไม่ แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นความเคยชิน ที่ผู้บริโภคจะไม่ทราบว่ามีการเพิ่มสารอาหารลงไปในผลิตภัณฑ์ที่ตนเองนำไปบริโภค จนกว่าจะได้เริ่มหันไปดูฉลากอีกครั้ง
ปัญหาใหญ่จึงเกิดขึ้น เนื่องจากสาเหตุที่มาจากความเคยชินของผู้บริโภคเอง ที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อการอ่านฉลากรายละเอียดข้างขวดเวลาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งปกติแล้วผลิตภัณฑ์ที่มักจะมีการเพิ่มสารอาหารและมีการวางจำหน่ายทั่วไปนั้นมักพบได้ง่าย เช่น
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งจะเสริมธาตุเหล็ก ไอโอดีน และวิตามินเอ ลงไปในผลิตภัณฑ์
- นมข้นหวาน มักจะเสริมวิตามินเอ เกลือป่น ไอโอดีน
- นมผง จะเพิ่มหรือเสริมสารธาตุเหล็ก แคลเซียม
- น้ำมันหอย เสริมธาตุเหล็ก ไอโอดีน
- ฯลฯ
การเพิ่มหรือเสริมสารอาหารนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตต้องการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ตนผลิตให้ดูดี หรือมีคุณค่ามากกว่าคู่แข่งขัน หรือเพื่อในทางการค้า โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีแนวคิดในการเพิ่มสารอาหารลงในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารของประชาชน
โดยต้องการให้สารอาหารที่เพิ่มหรือเสริมเข้าไปนั้นก่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้เครื่องหมายรับรองอาหารเพิ่มสารอาหารหรือ Nutrition Seal จึงิกิดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการขาดสารอาหารของประชาชนนั่นเอง
ปัญหาการขาดสารอาหาร
แม้ว่าในประเทศไทยเองไม่ได้เป็นประเทศที่มีผู้ขาดสารอาหารติดอันดับโลก แต่ก็มีหลายพื้นที่ ที่มีประชาชนมีภาวะโภคชนการเกิน จนทำให้ประชากรเกิดเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งชนิดต่างๆ มากขึ้น และเพิ่มขึ้นทุกปี แต่กลับกัน โรคขาดสารอาหารซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่บั่นทอนสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนไทยยังไม่หมด แต่ไม่รุนแรงเหมือนในอดีต ซึ่งในปัจจุบันปัญหาการขาดสารอาหารที่พบมากในคนไทยและคนทั่วโลกได้แก่
- การขาดวิตามินเอ มีผลทำให้มองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน มีภูมิต้านทานต่ำ หากขาดในปริมาณมากอาจทำให้ตาบอดได้ง่าย
- โรคขาดธาตุเหล็ก ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เฉื่อยชา ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ การเรียนรู้ช้า ซีด
- โรคขาดไอโอดีน ทำให้เป็นโรคคอพอก สติปัญญาไม่ดีจนเป็นโรคปัญญาอ่อน แม้ว่าปัจจุบันจะไม่รุนแรงมากแต่ก็ยังมีพบอยู่บางแห่งในประเทศไทย
ดังนั้นแล้วการบริโภคอาหารหลายๆ อย่าง ผู้บริโภคเองจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอย่างเหมาะสม หากร่างกายได้รับสารอาหารมากเกินไปก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้มากกว่าการขาดสารอาหาร แต่ผลเสียของการขาดสารอาหารก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าการมีโภชนาการเกิน
อ้างอิง gourmet & cuisine
เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับความงาม
ทรงผมโดนใจ หน้าร้อน
เมื่อฤดูร้อนมาถึง ซึ่งจริงๆ เมืองไทยก็ร้อนแทบทุกฤดูอยู่แล้ว สาวๆ หลายคนคงกำลังวุ่นวายกัยการเซ็ตผมที่ไม่ค่อยจะได้ดั่งใจ
เคล็ดลับความงาม
เคล็ดลับการกินเพื่อสุขภาพ อาหารตามกรุ๊ปเลือด
ในชีวิตประจำวันของคนทั่วไปที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ นอกจากจะทำให้สาวๆ หมดสิทธิ์รู้จักอาหารมื้อเช้า หรือการรับประทานอาหารได้ไม่ครบทั้ง 5 หมู่
เคล็ดลับความงาม
อาชีพที่เสี่ยงเป็นเส้นเลือดขอด
ปัญหาเส้นเลือดขอด (Varicose Veins) หรือ Spider Vein มักเกิดตามผิวของขาตั้งแต่บริเวณตาตุ่มขึ้นไปจนถึงขาหนีบด้านใน พบบ่อยบริเวณน่อง
โรคภัยไข้เจ็บ
ความรู้เรื่อง แคลเซียม กับ โรคกระดูกพรุน ในผู้สูงอายุ
แคลเซียม จัดเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในอันดับต้นๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก
เคล็ดลับสุขภาพดี
โยเกิร์ต ทำไมจึงดีต่อสุขภาพ
เชื่อแน่ว่า สาวๆ ที่รักสุขภาพต้องเคยทานโยเกิร์ต และหลายคนที่ชอบเป็นชีวิตจิตใจในการรับประทานโยเกิร์ต
เคล็ดลับผิวสวยใส
ครีมหน้าขาว อันตรายต่อ ผิวขาว
คุณสมบัติของครีมหน้าขาว คือทำให้ผิวขาว แต่อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวขาว อยู่ดีๆ ผิวจะขาวขึ้นได้อย่างไร