ในปัจจุบันนั้น คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ โรคกระดูกพรุน หรือ ภาวะที่กระดูกสูญเสียเนื้อกระดูก และโครงสร้างของกระดูกผิดไปเป็นอย่างมาก

เพราะโรคนี้ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง เกิดการหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ ทั้งยังเริ่มเป็นโรคที่ถูกกล่าวถึงมากขึ้น ทั้งในแง่ของการโฆษณาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่กล่าวถึงประโยชน์ ห่างไกลจากโรคนี้ เพราะการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่น้อยลง ทำให้หลายคนเริ่มตระหนักถึงการบริโภคแคลเซียมให้เพียงพอต่อร่างกายกันมากขึ้น

แต่รู้หรือไม่ว่า โดยปกติทั่วไปแล้วนั้นในร่างกายผู้ใหญ่ทั่วไป เราต้องการแคลเซียม 1000 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น ซึ่งถ้าหากเรารับแคลเซียมจากการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องและเพียงพอ ก็ไม่จำเป็นต้องเสริมด้วยอาหารเสริมแต่อย่างใด แต่ต้องคำนึงถึงการดูดซึมของร่างกายด้วย อาทิ รับประทานอาหารที่มีกรดที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมอย่าง ไฟติค แอซิด – กรดดีชนิดนี้พบในขนมปังไม่ขัดสี ถั่วดิบ เมล็ดงา ข้าวประเภทต่างๆ และออกซาลิค แอซิด – เป็นกรดที่พบในผักโขม ก็เพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องสรรหาเข้าไปเพิ่มเอาไว้ในร่างกาย

และนอกจากนั้น ควรระวังการรับประทานอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมอย่าง เกลือ-โซเดียม (โซเดียมที่สูงเกินไปจะเข้าไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย ทำให้ยิ่งบริโภคมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องการแคลเซียมที่สูงขึ้นเพื่อให้ครบจำนวนที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวันมากยิ่งขึ้น)

แคลเซียมกับโรคกระดูกพรุน

ป้องกันโรคกระดุกพรุน ทางออกของคนส่วนใหญ่

สำหรับท่านที่คิดว่า นม คือทางออก นมหนึ่งกล่อง มีแคลเซียมประมาณ 240 มิลลิกรัม และการศึกษาพบว่าการดื่มนมขณะท้องว่าง ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง แต่ขณะที่ปลาตัวเล็กตัวน้อย กุ้งแห้ง มีแคลเซียมมากกว่านมถึง 20 เท่า งาดำ มีแคลเซียมมากกว่านม 14 เท่า เต้าหู้ มีแคลเซียมมากกว่านม 2.5 เท่า ส่วนผักพื้นบ้านทั้งหลาย มีแคลเซียมมากกว่าในนม 3- 8 เท่า

ยกตัวอย่างเช่น อาหารไทยเป็นอาหารแคลเซียมสูง ก็คือ เมี่ยงคำ เพราะส่วนประกอบทั้ง ใบชะพลู กุ้งแห้ง ล้วนมีแคลเซียมสูงทั้งสิ้น ผัดผักกระเฉด ผัดผักคะน้า ก็ล้วนมีแคลเซียมสูง หรือจะรับประทานเป็น นมงาดำ (นำงาดำมาทำเป็นนม) หรือจะทานข้าวผสมงาดำ ก็จะทำให้ได้แคลเซียมเพิ่มขึ้นเช่นกัน

การหันมารับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงประกอบกับคำนึงถึงการดูดซึมของร่างกายไปด้วย จะได้ประโยชน์กว่าการดื่มนมเพียงอย่างเดียว สำหรับคนส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ขาดแคลเซียม แต่ที่เข้าใจว่าขาด คือร่างกายนำแคลเซียมที่ได้รับมาใช้ไม่ได้หรือร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ไม่ดี เพราะปัจจัยที่กล่าวข้างต้นว่า ตัวดูดซึมแคลเซียมไม่มี หรือมีตัวขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย

แคลเซียมกับโรคกระดูกพรุน

แคลเซียมไม่พอ เกิดจากอะไร

ตัวขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย มีหลายปัจจัยที่จะทำให้แคลเซียมในร่างกายลดลง

  • สัดส่วนของฟอสฟอรัส ต้องสมดุลกับแคลเซียมที่ได้รับเข้าไป
  • แคลเซียมต้องมากับวิตามินดี ถ้าไม่มีวิตามินดีแคลเซียมจะถูกดูดซึมได้ไม่ดี
  • โปรตีน ไขมัน อาหารกรด ช่วยให้แคลเซียมดูดซึมได้ดีก็จริง แต่หากมีปริมาณสูงมาก ก็จะทำให้มีการสูญเสียแคลเซียมมากขึ้น เพราะระบบย่อยโปรตีน ไขมัน กรด จำเป็นต้องใช้แคลเซียมเป็นตัวช่วย
  • กรดออกซาลิก เช่น โกฐน้ำเต้า ผักโขม บีท หรือ ช็อคโกแล็ต ผักกระเฉด ใบชะพลู จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม เพราะกรดออกซาลิกจะไปจับตัวกับแคลเซียม กลายเป็นแคลเซียมออกซาเลต ซึ่งร่างกายดูดซึมไม่ได้ แต่ผักคะน้า กลับเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม อีกทั้งเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีอีกด้วย
  • อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไฟติก หรือไฟเตต ซึ่งพบในพวก ธัญพืช, Whole grain, ทำให้การดูดซึมแคลเซียมแย่ลง งาไม่ได้เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีกว่านม ความจริงเป็นแค่การตลาด
  • อาหารที่มีกากใยสูง หรือ อาหารที่มี Caffeine ไม่ว่าจะเป็น น้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม มีส่วนลดการดูดซึมแคลเซียมทั้งสิ้น
  • นมเลยเป็นสาเหตุหลักให้เกิดโรคกระดูกพรุน และฟันผุ
  • การรับประทานแคลเซียมเสริมในปริมาณที่สูงมากเกินไปอาจจะก่อให้เกิดโรคนิ่วในไต แต่หากได้รับแคลเซียมสูงมากๆ จากอาหารกลับพบว่าไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย
  • ร่างกายดูดซึมแคลเซียมไว้ใช้ตามความจำเป็น โดยจะส่งบางส่วนไปเก็บไว้ที่กระดูกและฟัน ส่วนเหลือใช้จะขับออกไปกับปัสสาวะ หากได้รับแคลเซียมต่ำกว่าระดับที่ร่างกายต้องการติดต่อกันเป็นเวลานาน ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่เก็บไว้ในกระดูกและฟันออกมาใช้ ทำให้เกิดปัญหากระดูกกร่อน ฟันเปราะ
  • ปริมาณการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือดจะขึ้นลงมากน้อยขึ้นอยู่กับอายุ ทารกจะดูดซึมแคลเซียมถึง 60% ของแคลเซียมที่กินเข้าไป หลังวัยทารกการดูดซึมแคลเซียมก็จะค่อยๆ ลดลง และกลับเพิ่มขึ้นใหม่ในช่วงวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่การเจริญเติบโต และการดูดซึมแคลเซียมก็จะเหลือเพียงประมาณ 25% ของปริมาณแคลเซียมที่กินเข้าไปในวัยหนุ่มสาวหรือกลางคน / การดูดซึมแคลเซียมของหญิงมีครรภ์จะเพิ่มขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ การดูดซึมแคลเซียมของหญิงหมดประจำเดือน หญิงหรือชายวัยสูงอายุ จะค่อยๆลดลง (ประมาณปีละ 0.2%) ตลอดไป
  • ระบบฮอร์โมนที่ซับซ้อนร่วมกับวิตามินดี เป็นปัจจัยในการควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด ฮอร์โมนหลักที่มีส่วนร่วมในกระบวนการนี้คือ พาราไทรอยด์ ฮอร์โมน และ แคลซิโทนิน
  • อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงมากเกินไป แต่แคลเซียมต่ำ จะทำให้เกิดภาวะ Hyperthiroidism ซึ่งมีผลต่อระดับฮอร์โมน ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียแคลเซียม
  • การขับถ่ายโซเดียมและแคลเซียมทางไตมีความสัมพันธ์กัน เมื่อไตขับถ่ายโซเดียม ไตก็จะขับถ่ายแคลเซียมออกไปด้วย

อ้างอิงจาก healthmeup.com / balavi.com / ku.ac.th

เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับความงาม

Chicken Recipe Basmati Rice

Basmati Rice is a variety of long grain rice grown in India and Pakistan

เคล็ดลับสุขภาพดี

Peritoneum Mesothelioma Healthy

If you are wondering “do I have peritoneal mesothelioma?” you should seek the guidance of

เคล็ดลับความงาม

เคล็ดลับอกสวย สุขภาพดี

เผยเคล็ดลับความงามด้วย วิธีทำให้หน้าอกอึ๋ม เฟิร์ม กระชับ ได้สัดส่วน เพราะหน้าอก ถือเป็นเสน่ห์อันเย้ายวนอีกอย่างหนึ่งของผู้หญิง การเป็นเจ้าของหน้าอกสวย เป็นสิ่งที่สาวๆ ทุกคนใฝ่ฝันหา แต่จะทำอย่างไรถึงจะได้เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่ามีหน้าอกสวย

เคล็ดลับสุขภาพดี

ตัวช่วยควบคุมความดันโลหิต – ไขมันในเลือด

รู้หรือไม่ กระเจี๊ยบแดง สามารถที่จะควบคุมความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดได้อย่างดี จากข้อมูลของ ตลาดนัดสุขภาพ

ปัญหาหนังศีรษะ เคล็ดลับความงาม

ผมสวย ไม่ต้องการผูกมัด

การมีสุขภาพเส้นผมที่ดี เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่การได้มาซึ่งสุขภาพเส้นผมที่ดีนั้น ต้องเกิดจากการดูแลเอาใจใส่รักษาอย่างทะนุถนอม

ลดและควบคุมน้ำหนัก

เมนูลดอ้วน เพื่อหุ่นสวย

อาหารหลายๆ อย่างที่เราๆ รับประทานเข้าไป ส่วนใหญ่ก็เพื่อให้อิ่มท้องและสามารถที่จะแปรเปลี่ยนอาหารที่รับประทานเข้าไป เป็นพลังงานเพื่อใช้ดำเนินชีวิตประจำวันในแต่ละวัน