โรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุจากการรบกวนหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง โรคนี้อาจเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ของสมอง (ischemia)

ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) หรือภาวะมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolism) หรืออาจเกิดจากการตกเลือด (hemorrhage) ในสมอง ผลจากภาวะดังกล่าวทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดหรือตกเลือดทำงานไม่ได้ และอาจส่งผลทำให้อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia ไม่สามารถขยับแขนขาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือซีกใดซีกหนึ่ง) ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจหรือพูดได้ หรือตาบอดครึ่งซีก (hemianopsia ไม่สามารถมองเห็นครึ่งซีกหนึ่งของลานสายตา) ทั้งนี้ถ้ามีความรุนแรงมาก อาจทำให้ถึงตายได้

โรคหลอดเลือดสมองปัจจุบันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งสามารถทำให้เสียการทำงานของระบบประสาทอย่างถาวร อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมายทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นับเป็นสาเหตุหลักของความพิการในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของทั่วโลก และกำลังจะขึ้นเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกในไม่ช้า

โภชนาการกับโรคหลอดเลือดสมอง

จากข้อมูลของ American Stroke Association จะพบว่าทุก 4 นาทีจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน และความน่ากลัวของโรคนี้ก็คือการเกิดอาการแบบเฉียบพลัน ทำให้ชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ ประเทศไทยจึงกำหนดให้โรคหลอดเลือดสมอง เป็นหนึ่งในห้าโรควิถีชีวิตที่สำคัญ จากสถิติในประเทศไทยพบการเสียชีวิตของประชากรด้วยโรคหลอดเลือดสมองนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง และยังพบว่าเพศชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าในเพศหญิงถึง 1.4 เท่า

โรคหลอดเลือดสมอง

เกิดขึ้นจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองถูกปิดกั้นด้วยลิ่มเลือด หรือเกิดหลอดเลือดแตก ทำให้เนื้อสมองตายเนื่องจากเลือดไม่สามารถนำออกซิเจนและสารอาหารอื่นๆ ไปเลี้ยงเซลล์สมองในส่วนนั้นได้ โดยแบ่งสาเหตุของการเกิดได้ 3 ประเภทคือ

  • Ischemic Stroke เกิดจากการอุดตันของลิ่มเลือดในหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปได้ มีโอกาสเกิดได้ถึงร้อยละ 87
  • Hermorrhagic Stroke เกิดจากหลอดเลือดสมองแตกทำให้เลือดไหลเข้าสู่สมอง และเกิดจากเส้นเลือดโป่งพองเป็นถุงหรือการสร้างหลอดเลือดที่ผิดปกติขึ้น
  • Transient Ischemic Attack หรือเรือกกันว่า Mini Stroke เกิดจากการอุดตันชั่วคราวเป็นการเตือนถึงอาการของโรคหลอดเลือดสมองที่จะเกิดขึ้น

โภชนาการกับโรคหลอดเลือดสมอง

เมื่อสมองไม่สามารถทำงานได้ ก็จะเกิดผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมการทำงานอยู่ ส่วนใหญ่จะเกิดกับร่างกายเพียงครึ่งเดียว เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือชาบริเวณหน้า แขน ขา ทำให้เกิดการมองเห็น การพูด หรือการเคลื่อนไหวร่างกายผิดปกติ หรือไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เหมือนคนทั่วไป ที่เรียกกันติดปากว่า โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และถ้าโรคนี้มีความรุนแรงมากก็อาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา หรือในทันทีทันใด

โภชนาการ กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

อาหาร ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อโรคหลอดเลือดสมอง เพราะส่วนใหญ่แล้วผู้เป็นโรคหลอดเลือดนี้จะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการบริโภคอาหาร ปัจจัยที่เสี่ยงอย่างยิ่งที่ทำให้เกิดโรคนี้คือ ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตสูง และน้ำหนักเกินมาตรฐานมากๆ หรือคนอ้วน เพราะการกินอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันทรานส์ที่มีโซเดียมสูง

รวมทั้งการกินอาหารที่ให้พลังงานสูง จะเป็นปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากกว่าปกติ แต่การเลือกกินผักผลไม้มากกว่าอาหารข้างต้นอย่างน้อย 5 เท่าต่อวัน จะช่วยลดปัจจัยที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้

โภชนาการกับโรคหลอดเลือดสมอง

คำแนะนำของสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา American Heart Association และสมาคมโรคหลอดเลือดสมองแห่งสหรัฐอเมริกา American Stroke Association แนะนำไว้เกี่ยวกับการโภชนาการที่ดี ที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองคือ

  • เลือกกินผัก ผลไม้ และธัญพืชที่มีใยอาหารสูง
  • กินอาหารที่มีไขมันต่ำ
  • กินปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  • เลือกบริโภคนม รวมถึงผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำหรือปราศจากไขมัน
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง
  • จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์สำหรับผู้ที่ดื่ม

ผู้ที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง มักมีปัญหาเรื่องความอยากอาหารลดลง ให้เริ่มต้นด้วยการเพิ่มรสชาติอาหารด้วยสมุนไพรหรือเครื่องเทศที่ชอบ และใช้สารทดแทนเกลือ น้ำตาล ในการปรุงรส เลือกอาหารที่มีสีสันหลากหลายอย่างผักผลไม้ เลือกอาหารนิ่มๆ สิ่งสำคัญคือการดูแลทางจิตใจ ผู้ดูแลควรกินอาหารพร้อมกับผู้ป่วย เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยอยากกินอาหาร และกินแบบไม่ควรเร่งรีบมากนัก

ในปัจจุบันวงการแพทย์ไทยก้าวหน้าไปอีกขั้นกับการพัฒนาเครื่องมือแพทย์ช่วยเหลือผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต แขนขาอ่อนแรงด้วยการพัฒนาอุปกรณ์ชื่อ เครื่องเดินดี ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเดินได้ดีขึ้น ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร.เซง เลิศมโนรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ (ไฟฟ้า) พร้อมทีมผู้ช่วยวิจัยประกอบด้วย

นายจิรวัฒน์ จิตประสูติวิทย์ และ นายรติกร ชัยวัฒนธรรม นักศึกษาปริญญาโท จึงร่วมกันคิดค้นอุปกรณ์ช่วยเดินให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีปัญหาระหว่างการทำกายภาพบำบัด

โภชนาการกับโรคหลอดเลือดสมอง

โดยเฉพาะปัญหาปลายเท้าตก ทำให้เดินลำบาก จนได้รับรางวัลชนะเลิศจากเวทีการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 และรางวัล Best Contribution Award ที่ประเทศจีน และต่อยอดพัฒนาอุปกรณ์สร้างกระแสประสาทเทียมชื่อว่าเครื่องเดินดี ในเชิงพาณิชย์แล้ว ผู้ป่วยที่สนใจอุปกรณ์นี้ ติดตามได้ที่ ช่องทาง www.facebook.com/DearnDee

อ้างอิง โภชนาการกับโรคหลอดเลือดสมอง คอลัมน์ Food for Life หน้า 114 Gourmet & Cuisine : September 2013

เคล็ดลับสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับสุขภาพดี

ปลาทู ก็มี โอเมก้า 3

โอเมก้า 3 ที่มีสรรพคุณช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกายช่วยบำรุงสมองให้ความจำดีและคุณประโยชน์อีกหลายอย่าง

เคล็ดลับความงาม

ความงาม กับ การออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย แล้วเกิดความงาม หรือจะเป็น ความงามเกิดจากการออกกำลังกาย Beauty and Fitness

เคล็ดลับความงาม

มหัศจรรย์ น้ำมันมะกอก

เคล็ดลับความงาม และการมีสุขภาพดีได้นานนับพันๆ ปีของคนในแถบชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนนั้น อย่างหนึ่งที่สำคัญคือการรับประทานน้ำมันมะกอกเป็นประจำ

เคล็ดลับผิวสวยใส

วิธี ป้องกันผิวแห้ง ในหน้าหนาว

หน้าหนาวใครๆ ก็แต่งตัวสวยดูดี แปลงเนาะ ประเทศไทยเราเองหน้าร้อนสาวๆ นุ่งสั้น นุ่งน้อยห่มน้อย ก็น่ารักไปอีกแบบ

เคล็ดลับสุขภาพดี

ผลไม้สําหรับคนเป็นเบาหวาน

ปัจจัยหลายประการที่ทำให้คนเราเป็น โรคเบาหวาน มีตั้งแต่เรื่องของพันธุกรรม น้ำหนักตัวมากเกินไป

ลดและควบคุมน้ำหนัก

ชนะ โรคอ้วนลงพุง ได้ผลชัวส์

อาการ อ้วนลงพุง เป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก ควรหาทางแก้ไข ก่อนสายเกินไป